วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557


ระบบกล้ามเนื้อ รายวิชา สุขสึกษา และพลศึกษา 5 พ30105 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

สมาชิก
1.นายนัทธพงศ์    นุชสิริกุลพงศ์  ม.6/3 เลขที่ 6
2.นายครองธรรม  ธรรมลิขิต      ม.6/3 เลขที่ 10
3.นายจิรภัทร       จารุทรรศนา   ม.6/3 เลขที่ 11
4.นายชยพล        อุณหโชค      ม.6/3 เลขที่ 13
5.นายปิติพงษฺ์      เกิดเอี่ยม      ม.6/3 เลขที่ 18
6.นายศรวัส         เกตุแก้วมณี   ม.6/3 เลขที่ 21

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์



ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)

อารัมภบท       
เริ่มต้นโดยการมาพิจารณาคำว่าระบบกล้ามเนื้อ ระบบ คือ หน่วยย่อยต่างๆที่มาทำงานสัมพันธ์กันให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นระบบกล้ามเนื้อก็คือ การที่กล้ามเนื้อมาทำงานสัมพันธ์กันทำให้เกิดผลดังนี้ อันได้แก่

-คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture) 

-ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints) 

-ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) กล้ามเนื้อทำให้ให้เราเคลื่อนไหวในส่วนที่ต้องการได้ กิจกรรมทุกอย่างที่เราทำอยู่ทุกๆวันนี้เกิดขึ้นได้เพราะร่างกายเราสามารถเปลี่ยนเอาพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

-รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย (Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ

1.กล้ามเนื้อ


กล้ามเนื้อแต่ละมัดจะประกอบด้วย เส้นใยกล้ามเนื้อ จำนวนมาก โดยเส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้น คือ เซลล์ โดยเซลล์กล้ามเนื้อจะมีนิวเคลียสจำนวนมาก องค์ประกอบภายในเซลล์กล้ามเนื้อ จะมีลักษณะคล้ายกับเซลล์ทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่ชื่อเรียก ดังนี้
-         Sarcolemma = Cell Membrane
-         Sarcoplasm = ของเหลวภายในเซลล์
-         Sarcosome = mitochondria
-         Sarcoplasmic reticulum = endoplasmic reticulum
ใน sarcoplasm จะพบมัดของเส้นใยฝอย เรียก fibril ลอยอยู่เกือบทั้งเซลล์ โดยเส้นใยฝอยจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาน 1 ไมครอน และเส้นใยฝอยแต่ละเส้น จะประกอบไปด้วย filament filament จะแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ thick filament และ thin filament
การเรียงตัวของ Thick filament และ thin filament จะทำให้เกิด sarcomere โดย sarcomere จะเป็นหน่วยย่อยที่สุดของมัดกล้ามเนื้อที่มีการหดตัว ในแต่ละ fibril จะพบ sarcomere มากมาย แต่ละ sarcomere จะมีเส้นคั่นตามขวาง เรียก Z-disc
นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกแต่ละส่วนของ sarcromere ได้แก่ A-band, I-band, H-zone และ M-line
-         A-band คือ พื้นที่ตรงกลาง sarcromere เกิดจาก thick filament เรียงตัวโดยที่ปลายสองข้างของ thick filament มีการเหลื่อมซ้อนกับ thin filament
-         I-band คือ พื้นที่ที่มี thin filament เรียงตัวอยู่
-         H-zone คือแถบจางที่ไม่มีส่วนของ thin filament เข้ามา อยู่บริเวณตรงกลาง A-band
-         M-line คือ เส้นที่อยู่กึ่งกลาง H-zone โดย thick filament ที่อยู่ทั้งสองฟากของ M-line จะเรียงตัวในทิศตรงข้ามกัน



2.ชนิดของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อเพียงชนิดเดียวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของร่างกายเราได้ทุกอย่าง ดังนั้นร่างกายเราจึงสรรค์สร้างกล้ามเนื้อออกมาถึง 3 ชนิดที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทำงานครอบคลุมความต้องการของร่างกายได้ทุกส่วน อันได้แก่

1.1 กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle)

กล้ามเนื้อชนิดนี้ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อเคลื่อนไหวภายใต้อำนาจจิตใจ มีลักษณะดังภาพ



1.2กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth muscle)

กล้ามเนื้อชนิดนี้ถูกสรรค์สร้างมาเพื่อทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ มีลักษณะดังภาพ 


1.3กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac muscle)

เป็นกล้ามเนื้อที่ถูกสรรค์สร้างมาเพื่อใช้เฉพาะที่หัวใจ ทำงานภายใต้อำนาจจิตใจโดยไม่รู้จักหยุดพัก มีลักษณะดังภาพ

สรุปอย่างง่ายๆเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทั้งสามชนิดได้ดังนี้


3.การทำงานของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อประกอบด้วยโปรตีนหลัก 2 ชนิด คือ แอคทิน (actin) และ ไมโอวิน (myosin) 
   1) แอคทิน (actin) เป็นโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อไมโอไฟบริล (myofybril) เป็นเส้นใยบาง ยาว (thin myofilament) ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนทรงกลม (globular protein) ต่อกันเป็นเส้น 2 เส้น พันเป็นเกลียว (double helix)
   2) ไมโอซิน (myosin) เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเส้นใยไมโอไฟบริล (myofibril) ซึ่งเป็นโครงสร้างของกล้ามเนื้อสัตว์ ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีก ปลา  ไมโอซินเป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลเป็นโซ่ยาวบางโดยอยู่รวมกับแอกทิน (actin) มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อขณะที่สัตว์มีชีวิต



   ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้จะทำงานร่วมกันทำให้เกิดการหดคลายกล้ามเนื้อ


   การที่กล้ามเนื้อทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวได้นั้นเพราะกล้ามเนื้อมีความสามารถในการหดตัวและคลายตัว โดยมีกระบวนการหดตัว-คลายตัวดังต่อไปนี้
   
1) เมื่อเกิดสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Muscle Action Potential) Sarcoplasmic Reticulum ซึ่งเป็นที่เก็บแคลเซี่ยม จะหลั่งแคลเซียมออกมา
2) แคลเซี่ยมทำหน้าที่ 2 อย่าง
   - ไปจับกับ Tn – C ของ Actin ทำให้เกิดการเปิดตำแหน่ง Active Site
   - ไปจับที่หัว Myosin (Myosin Head) ซึ่งไปกระตุ้นแอนไซม์สำคัญชื่อ Myosin ATPase ณ บริเวณนั้นให้สลาย ATP ออก
     เป็นพลังงาน
3) หัวของ Myosin ไปจับกับ Actin เกิดเป็น Actin – Myosin Crossbridge
4) พลังงานจาก ATP ทำให้เกิดการตึง Actin เข้าหา Myosin โดยอาศัยการงอพับได้ของ Mysin Head เกิดกระบวนการที่เรียกว่า Sllding Fllament Theory
  


ซึ่งในแต่ละขั้นตอน เราจะสามารถสังเกตสิ่งต่อไปนี้ในขณะที่กล้ามเนื้อหดตัว
1) แรงที่เกิดขึ้นมาจากการหดสั้นโดยการดึง Actin จาก 2 ปลายของ Sarcomere เข้าหา Myosin
2) แรงหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นแรงดึง (Pull) ทั้งสิ้น ไม่ใช่แรงผลัก (Push)
3) ความยาวของ Thick (Myosin) และ Thin (Actin) Filament ไม่เปลี่ยนแปลง
4) ความยาวของ Sarcomere สิ้นลง

การทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อ (การเป็นตะคริว)

         ตะคริว คืออาการที่กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหดเกร็งเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และค้างอยู่เป็นระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที โดยที่เราไม่ได้สั่งให้เกร็งหรือหดตัว และไม่สามารถควบคุมให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ คลายตัวหรือหย่อนตัวลงได้ น่านเอง 
         กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวจะมีอาการแข็งตัวและปวดมาก หากคลำดูจะรู้สึกว่าแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อส่วนนั้นก็จะทำให้ยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้น
         หากปล่อยไว้สักพัก กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวหรือหดเกร็งจะค่อยๆ คลายตัวไปได้เองทีละน้อย และไม่มีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เมื่อหายแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นปกติทุกอย่าง
         ตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะพบได้เป็นครั้งคราวในคนเกือบทุกคน สามารถเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อทุกส่วน แต่ที่มักพบว่าเป็นตะคริวได้บ่อย คือ กล้ามเนื้อน่อง เท้า รองลงมา ได้แก่ กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และกล้ามเนื้อหลัง       
       สาเหตุของตะคริว
       1. การขาดน้ำ จากการศึกษาพบว่าการขาดน้ำจะทำให้เกิดตะคริวและเป็นรุนแรง
       2. ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ภาวะที่ทำให้เกลือแร่เสียสมดุล ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ซึ่งอาจทำให้เป็นตะคริวรุนแรง คือเกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วนของร่างกาย และมักจะเป็นอยู่นาน
       3. ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
       4. หญิงตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากการไหวเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก
       5. กล้ามเนื้ออ่อนล้า หรือกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง จากการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการทำงานหนัก จะทำให้เกิดตะคริวได้บ่อย
       6. การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ
       7. กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
       8. กล้ามเนื้อขาดเลือด หากออกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้วอร์มอัป จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ และอาจทำให้เกิดตะคริวได้
       9. การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนานๆ ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และเกิดตะคริวได้เช่นกัน
       10. ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน เช่น ผู้สูงอายุ ก็มีโอกาสเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น อาจเป็นขณะที่เดินนานๆ เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี


      หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้ตะคริวหายเร็วขึ้น คือ ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริว จนกระทั่งหายปวด อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที แล้วลองปล่อยมือดูว่ากล้ามเนื้อนั้นๆ ยังเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้ายังเกร็งอยู่ ให้ทำซ้ำอีก จนกระทั่งปล่อยมือแล้วไม่มีอาการเกร็งตัว
       ยกตัวอย่างเช่น หากเกิดตะคริวที่น่อง ให้เหยียดเข่าให้ตรง และกระดกปลายเท้าขึ้น อาจเอื้อมมือไปดึงปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ประมาณ 1-2 นาที จะช่วยให้ปวดน้อยลง ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขาให้เหยียดเข่าตรง ยกเท้าขึ้นให้พ้นจากพื้นเล็กน้อย และกดปลายเท้าลงล่าง
       ไม่ควรบีบนวดแรงๆ ขณะที่กล้ามเนื้อกำลังเกร็งตัว แต่ถ้าหากกล้ามเนื้อคลายตัวแล้ว อาจบีบนวดโดยใช้มือบีบนวดไล่จากเอ็นร้อยหวายขึ้นมาจนถึงข้อเข่า จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดกลับไปสู่หัวใจดีขึ้น



กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย
กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing) เป็นต้น เพื่อสะดวกในการจดจำและทำให้เกิดความเข้าใจ จึงต้องมีการตั้งชื่อกล้ามเนื้อขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี คือ

· โดยลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ (By Action) เช่น กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา Adductor Muscle ทำหน้า ที่ในการหุบ ขา และกล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง Flexor carpiradialis ซึ่งทำ หน้าที่ในการงอปลายแขน

· โดยตำแหน่งที่ตั้ง (By location) เช่น กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหน้า ติดกับกระดูก Tiibia,Tibialis antorioi และกล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้าPectoralis major

· โดยจุดเริ่มต้นหรือส่วนยึด (By heads of origin) เช่น กล้ามเนื้อ Biceps brachii ซึ่งมี Origin 2 จุด กล้ามเนื้อ Triceps และ Quadraceps

· โดยรูปร่าง (By shape) เช่น กล้ามเนื้อ Trapezius ซึ่งมีลักษณะ เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กล้ามเนื้อ Detoid ที่ปกคลุมไหลมีรูปร่าง คล้ายตัว D

· โดยตำแหน่งที่กล้ามเนื้อเกาะหรือยึดอยู่ Sternum กระดูก Clavicle และ Mastoid process ของ กระดูกขมับ

1. กล้ามเนื้อของศรีษะ (The Muscles of head) กล้ามเนื้อของศรีษะแบ่งออกเป็น 2 พวก ซึ่งแบ่งตามหน้าที่ คือ
1.1 กล้ามเนื้อแสดงสีหน้า (Muscles of facial expression) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ติดกับผิวหนังมาก จึงมีหน้าที่ทำ ให้ผิวหนัง เคลื่อนไหว และเปลี่ยนลักษณะของสีหน้าประกอบด้วย

· Orbicularis Oculi ทำหน้าที่ หลับตา

· Orbicularis Oris หุบปาก,เม้มริมฝีปาก

· Frontal Muscle ยักคิ้ว,หน้าผากย่น

2. กล้ามเนื้อคอ (Muscles of the Neck) ประกอบด้วย
Sternocleido mastoid ถ้า 2 มัดทำงานจะก้มศรีษะลงถ้ามัดเดียวทำงานจะเอียงศรีษะ ไปข้างที่หดตัว

· Platysma ทำหน้าที่ ดึงฝีปากล่างและมุมปากลง

3. กล้ามเนื้อของลำตัว (TheMuscles of the Trunk) แบ่งออกเป็นพวกๆ คือ
3.1 กล้ามเนื้อของหลัง (Muscles of back) มีอยู่หลายมัด อยู่ที่เบื้องหลังของลำตัวตั้งแต่หลังคอ หลังอก ไปจนถึง บั้นเอว ที่ชั้นตื้นมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ อยู่ 2มัด และชั้นลึกที่สุดอีก 1 มัด

· Trapezius ทำหน้าที่ รั้งสะบักมาข้างหลัง,ยกไหล่ขึ้นข้างบน,รั้งศรีษะไปข้างหลัง

· Latissimus dorsi ทำหน้าที่ ดึงแขนลงมาข้างล่างไปข้างหลังและเข้าข้างใน

· Sacrospinalis (Elector spinae) ทำหน้าที่ ดึงกระดูกสันหลังให้ตั้งตรง

3.2 กล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า (Muscles of the chest)

· Pectoralis major หุบ,งอและหมุนต้นแขนเข้าข้างในมาข้างหน้า

· Pectoralis minor ดึงไหล่ลง,หมุนสะบักลงข้างล่าง

· erratus anterior ยึดสะบักให้อยู่กับที่,ดึงสะบักไปข้างหน้าและข้างๆ

3.3 กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (TheMuscles of respiration)

· Diaphragm ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้นและช่วยดันปอดให้ลมออกมา

· External Intercostal ยกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น

· Internal Intercostal ทำให้ช่องอกเล็กลง

3.4 กล้ามเนื้อของท้อง (The Muscles of abdomen) แบ่งเป็น 2 พวก คือ
3.4.1 กล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นผนังข้างหน้าและข้างๆ ของท้อง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด คือ

Rectus abdominis ทำหน้าที่ เมื่อหดตัวจะกดอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เพิ่มแรงกดดัน (Pressure) ในช่อง ท้อง ช่วยในการคลอดบุตร ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน
External obligue , Internal obligue , Transversus abdominis ทำหน้าที่ ช่วยกดอวัยวะในช่องท้อง ช่วยในการหายใจออก ช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้เป็นอันตราย และไม่ให้เคลื่อนที่ ช่วยงอและหมุนกระดูก สันหลัง

3.4.2 กล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นผนังด้านหลังของท้อง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ Psoas muscle Iliacus Quadratus lumborum

Psoas major ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
Psoas minor ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
Iliacus ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
Quadratus lumborum ทำหน้าที่ ช่วยในการหายใจเข้า (inspiration) โดยพยุงให้มุมนอกของ diaphargm มั่นคงและงอกระดูกสันหลังไปข้างๆ เหยียดกระดูกสันหลัง

4. กล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน (Muscles of pelvis) Levator ani และ Coccygeus ทำหน้าที่ ขึงอยู่ใน Pelvic cavity คล้ายเป็น Pelvic diaphagm รองรับ อวัยวะที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไว้
5. กล้ามเนื้อของแขน (Muscles of the upper extremities)
5.1 กล้ามเนื้อไหล่ (Muscles of the shoulder)

· Deltoid ทำหน้าที่ กางต้นแขนขึ้นมาเป็นมุมฉาก

· Supraspinatus , Infraspinatus , Teres minor ทำหน้าที่ พยุงไหล่ หุบแขน และหมุนต้นแขนไปข้างๆ

· Teres major ทำหน้าที่ หุบแขนและหมุนต้นแขนเข้าข้างใน

· Subscapularis ทำหน้าที่ หมุนต้นแขนเข้าข้างใน และพยุงหัวไหล่

5.2 กล้ามเนื้อต้นแขน (Muscles of the arm)

· Biceps brachii คล้ายกระสวยปลายบนมี 2 หัว ทำหน้าที่ งอข้อศอกและหงายมือ

· Triceps brachii มัดใหญ่อยู่หลังต้นแขน ปลายบนมี 3 หัว ทำหน้าที่ เหยียดปลายแขน หัวยาวเหยียดและหุบแขน

· Brachialis คลุมส่วนหน้าของข้อศอก ทำหน้าที่ งอปลายแขน

· Coracobrachialis ทำหน้าที่ งอและหุบแขน ช่วยให้หัวของกระดูก humerus อยู่ใน Glenoid

5.3.1 กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหน้า (Volar group)

· Pronator Teres ทำหน้าที่ คว่ำมือและงอแขนท่อนล่าง

· Pronator guadatus ทำหน้าที่ คว่ำแขนท่อนบน

· Flexor carpi Ulnaris ทำหน้าที่ คว่ำแขนท่อนล่าง งอและหุบมือ

· Flexor digitorum Profundus ทำหน้าที่ งอมือและงอปลายนิ้ว

5.3.2 กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง (Dorsal group)

· Brachioradialis ทำหน้าที่ งอปลายแขนและหงายมือ

· Extensor carpi Radialis brevis ทำหน้าที่ เหยียดแขนท่อนล่างเหยียดและกางข้อมือ

· Extensor carpi Ulnaris ทำหน้าที่ เหยียดและกางข้อมือ

· Extensor digitorum ทำหน้าที่ เหยียดนิ้วมือและข้อมือ

5.4 กล้ามเนื้อของมือ (Muscles of the hand) กล้ามเนื้อของมือเป็นกล้ามเนื้อสั้นๆ ที่ทำหน้าที่ ในการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่นิ้วมืออีกจำนวนมาก ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วมือ อีกด้วย
6. กล้ามเนื้อขา (Muscle of lower extremities) จำแนกออกเป็น
6.1 กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ทำหน้าที่ เคลื่อนไหวขาท่อนบน ได้แก่

· Gluteus maximus ทำหน้าที่ เหยียดและกางต้นขา

· Gluteus medius ทำหน้าที่ กางต้นขา

· Gluteus minimus ทำหน้าที่ หมุนต้นขาเข้าข้างใน

6.2 กล้ามเนื้อของต้นขา (The Muscles of the thigh)
6.2.1 กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ที่เรียกว่า Quadriceps femoris มีหน้าที่เหยีดปลายขามี 4 มัด คือ
Rectus femoris , Vastus lateralis or Vastus externus , Vastus medialis or Vastus internus , Vastus Intermedius ทำหน้าที่ เหยียดปลายขาและงอต้นขา

6.2.2 กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อกลุ่ม Hamstring muscles เป็นพวก งอปลายขาขึ้นมา มี 3 มัด คือ

· Biceps femoris ทำหน้าที่งอปลายขาเหยียดต้นขา

· Semitendinosus , Semimembranosus ทำหน้าที่ งอปลายขา หมุนปลายขาเข้าข้างใน

6.3 กล้ามเนื้อของปลายขา (The Muscles of the legs)
6.3.1 กล้ามเนื้อของปลายขาด้านหน้า

· Tibialis anterior ทำหน้าที่ งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า หมุนฝาเท้าเข้าข้างใน

· Extensor digitorum longus ทำหน้าที่ งอเท้า เหยียดนิ้วเท้า หันเท้าออกข้างนอก

· Peroneus longus ทำหน้าที่ เหยียดเท้า กางและหมุนเท้าออกข้างนอก

· Peroneus brevis ทำหน้าที่ เหยียดเท้า หมุนเท้าออกข้างนอก

6.3.2 กล้ามเนื้อของปลายขาด้านหลัง

· Gastrocnemius มี 2 หัว ทำหน้าที่ เหยียดข้อเท้างอปลายขา

· Soleus ทำหน้าที่ เหยียดข้อเท้า กล้ามเนื้อทั้ง 2 มัด รวมกันเป็น Tendon ที่หนาและแข็งแรงที่สุดในร่างกาย แล้วไปเกาะที่กระ ดูกสันเท้า ตรงที่เรียกว่า เอ็นร้อยหวาย
6.4 กล้ามเนื้อของเท้า (The Muscles of the foot) เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กสั้นๆ เหมือนกับที่มืออยู่หลังเท้า และฝ่าเท้า หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยยึดเท้าให้เป็นอุ้งเท้า(Arch) อยู่ได้


บรรณานุกรม
      
http://classconnection.s3.amazonaws.com/536/flashcards/1808536/png/levels_of_muscle_structure1349648870863.png
http://www.cytochemistry.net/microanatomy/muscle/muscle12.jpg
http://www.proteinatlas.org/images_dictionary/skeletal_muscle__1__example_1__1_100_1.jpg
http://www.gwc.maricopa.edu/class/bio201/Histology/31SmoothMusc3_400X_rev.jpg
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/muscle/chapter2.html
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=274
http://mrlucas.com/2010%20PDF/BodySystems/BonesMuscles/muscle%20type%20drawings.jpg
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1923/actin
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1324/myosin
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/Physio/unit1/content1-4.htm
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=854132
https://sites.google.com/site/varioussystemsofthebody/home/rabb-klam-neux